Thai Online Lecture by Direk Injan: "The State of Northern Thai Manuscripts (1970–2025)"
![](https://www.vk.uni-hamburg.de/uploads/event/image_de/113964/2025-02-14---hgt---direk---picture11-733x414.jpg)
Foto: Direk Injan, cropped
Wann: Fr, 14.02.2025, 14:00 Uhr bis 16:00 Uhr
Wo: Digital
Topic:
"The State of Northern Thai Manuscripts (1970–2025)"
สถานภาพของเอกสารตัวเขียนในภาคเหนือของไทย (2513–2568)
Speaker:
Dr. Direk Injan
ดร ดิเรก อินจันทร์
Affiliation:
Chiang Mai Rajabhat University
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Date/Time:
February 14th, 2025 (Friday), 14:00 – 16:00 (CEST/MESZ)
14 กุมภาพันธ์ 2563 (วันศุกร์), 14:00 – 16:00
Language:
Thai
Zoom Link:
https://uni-hamburg.zoom.us/j/64563521222?pwd=OEdSbENCOUV2Ynl5ZUdnNG5mM1pwQT09
Zoom Meeting-ID:
645 6352 1222
Zoom Passcode:
hgtlecture
About this lecture:
The Upper North of Thailand was once the core of the Lan Na Kingdom, which used the Lan Na script for writing literary texts. Long-sized palm-leaf manuscripts were commonly used to record Buddhist teachings, copied for the purposes of study, preaching, and extending the life of Buddhism, and were then offered and preserved in monastic repositories. Shorter-sized palm-leaf manuscripts and mulberry paper folded books (papsa) were commonly used to record non-religious texts, such as chants for rituals, astrological treatises, white magic, medicinal recipes, and other bodies of knowledge. As they were considered private property, they were found in both monasteries and private households.
Various individuals and organizations have recognized the cultural significance of Northern Thai manuscripts, as is evident in the surveys carried out by Dr. Harald Hundius and Achan Singha Wannasai (1971–1974), Sommai Premjit (1975), The Siam Society under Royal Patronage (1975–1978), and the Thai National Library (1976–1978). Later, the Social Research Institute, Chiang Mai University (1979–1990), and the Office of Arts and Culture Promotion, Chiang Mai University (1987–1991), supported by the Ministry of Foreign Affairs of the Federal Republic of Germany, conducted detailed surveys and registries of temple manuscripts throughout the northern region, selecting some for microfilming (later organized into an online database). Currently, many other organizations continue the survey, documentation, preservation, and digitization of Lan Na manuscripts.
บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย เคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาซึ่งใช้อักษรธรรมล้านนาในการบันทึกเอกสาร โดยคัมภีร์ใบลานที่มีขนาดยาวนิยมใช้บันทึกคำสอนพุทธศาสนา มีการคัดลอกไว้เพื่อใช้ในการศึกษา เทศนา และสืบอายุพระพุทธศาสนาแล้วถวายและเก็บรักษาไว้ที่วัด ส่วนคัมภีร์ใบลานขนาดสั้น หรือพับสา นิยมใช้บันทึกบทสวดในพิธีกรรม ตำราโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ ตำรายา หรือองค์ความรู้อื่นๆ ถือเป็นสมบัติส่วนตัว จึงพบทั้งในวัดและตามบ้าน
ที่ผ่านมาเคยมีบุคคล หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เห็นความสำคัญของเอกสารตัวเขียนในเขตภาคเหนือของไทย เช่น ดร.ฮารัลด์ ฮุนดิอุส และ อ.สิงฆะ วรรณสัย (1971-1974) อ.สมหมาย เปรมจิตต์ (1975) สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ (1975-1978) และหอสมุดแห่งชาติ (1976-1978) โดยได้สำรวจ และทำทะเบียน (แบบย่อ) เอกสารตัวเขียนของวัดต่างๆ ต่อมาสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (1979-1990) และสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (1987-1991) ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงการต่างประเทศ สหพันธรัฐเยอรมนี ได้สำรวจและทำทะเบียน (แบบละเอียด) เอกสารตัวเขียนตามวัดต่างๆ ทั่วภาคเหนือ แล้วคัดเลือกบางส่วนมาถ่ายภาพด้วยไมโครฟิล์มด้วย (ภายหลังได้จัดทำเป็นฐานข้อมูลออนไลน์) ปัจจุบันยังมีหน่วยงานต่างๆ ที่ดำเนินงานสำรวจ ทำทะเบียน ถ่ายภาพดิจิทัล และจัดทำฐานข้อมูลเอกสารตัวเขียนในเขตภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง
Brief profile:
Dr. Direk Inchan completed his Bachelor's degree in Buddhist Studies (Mahachulalongkornrajavidyalaya University, 1997), a Master's degree in Lan Na Language and Literature (Chiang Mai University, 2003), and a Ph.D. in Mekong and Salween River Basin Studies (Chiang Mai Rajabhat University, 2017).
Currently, he is a senior researcher at the Office of Art and Culture, Chiang Mai Rajabhat University. His work involves surveying, registering, photographing, and creating digital databases of manuscripts from Northern Thailand and the Shan State, Myanmar. He also transliterates and translates manuscripts written in the Dhamma script (tua tham) into Thai script and language. His current research focuses on studying community histories through the lens of manuscripts. Additionally, he has been leading several projects documenting and digitizing endangered manuscript collections, funded by the DREAMSEA program.
ดร ดิเรก อินจันทร์ สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาพุทธศาสนา (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 1997) ปริญญาโทสาขาภาษาและวรรณกรรมล้านนา (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2003) และปริญญาเอก สาขาภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและสาละวินศึกษา (มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2017)
ปัจจุบันเป็นนักวิชาการวัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ทำงานเกี่ยวกับการสำรวจ ทำทะเบียน ถ่ายภาพ และจัดทำฐานข้อมูลดิจิทัลเอกสารตัวเขียน (ภาคเหนือของไทย และรัฐฉานของเมียนมา) รวมถึงการปริวรรตและแปลเอกสารตัวเขียนจากอักษรธรรมเป็นอักษรและภาษาไทย ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนจากเอกสารตัวเขียน ตลอดจนเป็นหัวหน้าโครงการทำทะเบียนและถ่ายภาพเอกสารตัวเขียนที่อยู่ในความเสี่ยงต่อการชำรุดเสียหายในเขตภาคเหนือ (โดยทุนของ DREAMSEA).
We would like to thank the Hamburg Society for Thai Studies for the cooperation.
You can also find all this information on our Instagram account, on our English flyer, and on our Thai flyer.